ข้อมูลพื้นฐาน (Basic data types)

  1. ข้อมูลพื้นฐาน (Basic data types) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวเลข(Numeric) และข้อมูลสายอักษร (String)

1) ข้อมูลตัวเลข (Numeric) ข้อมูลตัวเลข หมายถึงชนิดข้อมูลที่สามารถเก็บข้อมูลที่เป็นข้อมูลทั่วไป หรือข้อมูลพื้นฐาน เช่นเลขจำนวนนับ ซึ่งเลขจำนวนนับนี้มีคุณสมบัติสามารถเพิ่มค่าได้ คำนวณได้ และเปลี่ยนแปลงค่าได้ มีทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่ เลขจำนวนเต็ม (Integers) ตัวเลขทศนิยม หรือจำนวนจริง (Floating-Point numbers) จำนวนตรรกะ (Boolean) และจำนวนเชิงซ้อน (Complex Numbers)

2) ข้อมูลชนิดสายอักษร (String) ข้อมูลสายอักษร หรือสตริง หมายถึง ข้อมูลที่เป็น ตัวอักษร ข้อความ หรือประโยค ซึ่งตัวแปรชนิดนี้ไม่สามารถนำมาคำนวณได้ในการประกาศตัวแปรชนิดนี้ ข้อความจะต้องอยู่ภายใต้เครื่องหมาย(” “) หรือเครื่องหมาย (‘ ‘) กำกับอยู่ เช่น author = ‘Suchart’ หรือ author = “Suchart” ดังนั้นในกรณีที่มีการเก็บในลักษณะเป็นตัวเลข เช่น ‘15.25’ จึงมีความหมายเป็นเพียงสายอักษร ไม่สามารถนำมาประมวลผลได้ แต่ถ้าผู้เขียนโปรแกรมต้องการให้คำนวณได้จำเป็นต้องใช้ฟังก์ชันเพื่อเปลี่ยนชนิดตัวแปร (Forcing) จากสายอักษรไปเป็นจำนวนเต็ม หรือจำนวนจริง จึงจะสามารถประมวลผลได้ วิธีการเขียนคำสั่งเพื่อเก็บข้อมูลชนิดตัวแปรสายอักษร ดังนี้

var1 = ‘Hello World!’

var2 = “Python Programming”

ประกาศให้ตัวแปร var1 มีค่าเท่ากับ Hello World! และ var2 เท่ากับ Python Programming ภาษาไพธอนไม่สนับสนุนตัวแปรแบบอักษร เช่น ‘A’, ‘1’ ดังนั้น ถ้าต้องการใช้งานลักษณะดังกล่าวจะต้องทำการระบุลำดับของตัวอักษรนั้นๆ ในสตริงแทน โดยใช้เครื่องหมาย [ ] เข้าช่วย เช่น ถ้าต้องการข้อมูล’W’ในตัวแปร var1 ทำได้โดยอ้างตัวแปรและตามด้วย [ตำแหน่งของตัวอักษร] เช่น var1[6] เป็นต้น ดังตัวอย่าง

103.png